Sunday, April 25, 2010

แพทย์เผยหญิงไทยมีอาการน่าวิกฤติกับอาการก่อนมีประจำเดือน

แพทย์เผยหญิงไทยมีอาการน่าวิกฤติกับอาการก่อนมีประจำเดือน



คมชัดลึก : วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกรมอนามัย ตระหนักถึงภัยเงียบที่ซ่อนเร้นในอาการไม่พึงประสงค์ช่วงก่อนมีประจำเดือนในกลุ่มผู้หญิง ล่าสุดจึงได้ทำการวิจัยสำรวจภายใต้หัวข้อ กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนในผู้หญิงไทย (PMS) นับเป็นครั้งแรกที่ทำการวิจัยสำรวจโดยใช้หลัก ACOG (American College of Obstetricians and Gynecologists)






 ศ.นพ.สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ปัจจุบันผู้หญิงไทยจำนวนมากไม่รู้จักและไม่ทราบว่าตัวเองมีอาการไม่พึงประสงค์ก่อนมีประจำเดือน หรือ PMS อีกทั้งในปัจจุบัน ประเทศไทยยังมีการศึกษาเกี่ยวกับอาการ PMS น้อยและไม่ลงลึกในรายละเอียดเกี่ยวกับความรุนแรงและการชุกตัวของอาการ ทั้งยังไม่มีการตื่นตัวเกี่ยวกับอาการ PMS ว่าเป็นสิ่งที่จะกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ส่งผลให้ผู้หญิงไทยจำนวนมากต้องเผชิญภาวะเครียด หงุดหงิดและอารมณ์แปรปรวน โดยปราศจากความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุซึ่งอาจมาจากอาการดังกล่าว ซึ่งนับวันสถานการณ์ PMS ในผู้หญิงไทยนั้นยิ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น ก่อให้เกิดความแปรปรวนทางร่างกายและจิตใจ และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและความสัมพันธ์ต่อผู้คนรอบข้าง
 "อาการหลักๆ ของกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนที่มักเป็นกันมาก เช่น คัดตึงเต้านม มือ หรือเท้าบวม ปวดศีรษะ ไมเกรน ท้องอืด น้ำหนักขึ้น อยากอาหารมากกว่าปกติ นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน ขาดสมาธิ เครียด วิตกกังวล ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน การทำงาน และการเข้าสังคม หากเป็นมากมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ" ศ.นพ.สุรสักดิ์ แจง
 พร้อมกันนี้ คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังกล่าวต่อว่า ในส่วนของวิธีปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีอาการ PMS ทำได้โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตและฝึกควบคุมจิตใจและอารมณ์ รับประทานวิตามิน ซึ่งแนวทางดังกล่าวอาจช่วยบรรเทาอาการ PMS ได้ก็จริง แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยชิ้นใดยืนยันถึงผลการรักษาอาการ PMS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และล่าสุดได้มีการคิดค้นยาคุมกำเนิดสูตร 24/4 ซึ่งเป็นสารโปรเจสโตเจนสังเคราะห์ตัวใหม่ที่รับประทาน 24 เม็ดกับอีก 4 เม็ด ต่อรอบเดือน ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (FDA) ประเทศสหรัฐอเมริกาว่าสามารถรักษา PMS ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 "อย่างไรก็ดี ผู้มีอาการก่อนมีประจำเดือนควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม พร้อมกันนี้ควรปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตประจำวันควบคู่ไปด้วย อาทิ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ฝึกสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบ พักผ่อนให้เพียงพอ บริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ หลีกเลี่ยงความเครียดในชีวิตประจำวัน" คุณหมอ แนะนำทิ้งท้าย








ข่าวที่เกี่ยวข้องกล้วยหอมถั่วแดงทอด

อนุพงษ์ย้ำผบ.หน่วยไม่ใช้กำลังสลายม๊อบแดงนานาปัญหาพาปวดใจ

ไขปัญหาสุขภาพแผนจีน - อยากฝังเข็มชะลอแก่

"พระครูวรคุณประยุต"
เรื่องของ...วิสัยทัศน์กับการตอบรับ



NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive