Saturday, April 27, 2013

หมอบ บัง ยึด ซักซ้อมแผ่นดินไหว ภัยไกลตัวที่เกิดขึ้นได้เสมอ

หมอบ บัง ยึด ซักซ้อมแผ่นดินไหว ภัยไกลตัวที่เกิดขึ้นได้เสมอ
อย่าประมาทกับเหตุแผ่นดินไหวที่แม้จะไม่ค่อยเกิดในประเทศไทยอย่างเด็ดขาด เพราะถ้าเกิดขึ้นมาแล้วก็มีวิธีรับมือกับเหตุฉุกเฉินให้ถูกต้อง คู่เมืองคนเมืองวันนี้ขอนำ 10 วิธีอพยพแผ่นดินไหวมาฝาก เพื่อให้เราไม่ประมาทและรักษาชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัยนายปราณีต ร้อยบาง อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า การสร้างองค์ความรู้ด้านธรณีพิบัติภัย และการซักซ้อมการปฏิบัติตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อสามารถป้องกันตนจากธรณีพิบัติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ดินถล่ม แผ่นดินไหว โดยทางกรมทรัพยากรธรณีได้จัดทำโครงการฝึกอบรมด้วยการจำลองสถานการณ์ขณะเกิดเหตุดินถล่มและแผ่นดินไหว เพื่อเตรียมพร้อมด้านธรณีพิบัติภัยสู่ประชาคมอาเซียน และเพื่อเป็นตัวอย่างแก่ผู้คนทั่วไปให้เข้าใจถึงการอพยพได้ดียิ่งขึ้น กรมทรัพยากรธรณีได้จำลองสถานการณ์ดินถล่มและแผ่นดินไหวขึ้น โดยมีพนักงานและผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมซักซ้อมการปฏิบัติตนและปฏิบัติงานอย่างแข็งขัน ซึ่งทุกอย่างผ่านพ้นไปด้วยดีและเรียบร้อยตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ไทยรัฐออนไลน์นำ 10 ข้อควรปฏิบัติในการอพยพภัยแผ่นดินไหว มีดังนี้1. อย่าตกใจ ตั้งสติให้ได้โดยเร็ว2. หลบใต้โต๊ะที่แข็งแรง และใหญ่พอจะคลุมทั้งตัวได้ไม่อึดอัดเกินไป จับขาโต๊ะข้างใดข้างหนึ่งให้มั่น และรอจนกว่ารอบข้างจะหยุดสั่นสะเทือน3. ห้ามวิ่งขณะที่ยังมีการสั่นไหวของอาคาร4. เมื่อเดินออกจากห้องแล้ว ห้ามเดินย้อนกลับเข้าไปอีก แม้ว่าจะลืมสิ่งของสำคัญมากแค่ไหนก็ตาม5. เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้นำการอพยพ6. การอพยพหนีภัย ให้ใช้การเดินเร็วลงบันได ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาด7. การเดินลงบันได ให้เดินเรียงเป็นแถว เพื่อป้องกันการเบียดเสียดหกล้ม8. ไม่ควรเดินคุยกัน สายตามองบันได มือจับราวบันได และห้ามผลักคนข้างหน้า9. หากออกจากสำนักงานเป็นคนสุดท้าย ให้ปิดสวิตช์ไฟให้หมดทุกดวง10. การอพยพหนีภัยควรลงแต่ชั้นล่างเท่านั้น ห้ามอพยพขึ้นดาดฟ้าของตึกโดยเด็ดขาดทั้งนี้ทั้งนั้น ขณะที่เกิดแผ่นดินไหว ควรอยู่ให้ห่างจากหน้าต่างและประตู แต่ถ้าอยู่ในรถยนต์ ต้องอยู่แต่บนรถที่จอดสนิทนิ่ง และรอจนกว่าการสั่นสะเทือนจะสงบ และข้อสำคัญที่สุดสำหรับใครที่ประสบเหตุแผ่นดินไหวใกล้ชายฝั่งทะเล ควรหนีให้ห่างจากชายฝั่งให้มากที่สุด เพราะอาจเกิดคลื่นยักษ์ สึนามิ พัดถล่มได้.

Blog Archive