Wednesday, April 14, 2010

5 โรคร้าย...ทำลายชีวิตวัยเกษียณ

5 โรคร้าย...ทำลายชีวิตวัยเกษียณ

 ปัญหาสุขภาพของคนสูงวัยที่พบบ่อย และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก มักมาจากภาวะทุพพลภาพจากโรคยอดฮิตของผู้สูงวัยเหล่านี้คือ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคข้อเสื่อม นอกจากทำให้เกิดความเจ็บปวดทรมานทางร่างกายแบบเรื้อรังแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อจิตใจและเศรษฐกิจของครอบครัวอีกด้วย...ปัญหาหัวใจในผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้นพบว่าหลอดเลือดหัวใจจะเสื่อมสภาพ จากการที่มีคอเลสเตอรอลสะสมเป็นเวลานาน ส่งผลให้เกิดหลอดเลือดแดงตีบแคบ หรืออุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และทำให้เสียชีวิตกะทันหันได้ ศ.นพ.เกียรติชัย ภูริปัญโญ ผู้อำนวยการศูนย์หัวใจ รพ.เวชธานี กล่าวถึงผู้ป่วยภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือ Heart Attack ว่าเกิดจากหลอดเลือดแดงมีการตีบตัน เพราะมีคราบไขมันหรือหินปูนมาเกาะผนังหลอดเลือดด้านใน ซึ่งหากหลอดเลือดแดงตีบแคบมาก หรือมีลิ่มเลือดไปอุดตัน 100% ในทันที จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ถ้าไม่ได้รับการรักษาภายใน 4-5 นาทีหัวใจจะหยุดเต้น ร่างกายส่วนต่างๆ จึงขาดเลือดไปเลี้ยง ส่วนที่รุนแรงคือ สมอง ถ้าแก้ไขไม่ทันภายใน 4-5 นาที เซลล์สมองอาจเสียหายแบบถาวร ถึงแม้จะรักษาหัวใจให้กลับคืนมาได้ แต่สมองอาจไม่กลับมาเป็นปกติได้เหมือนเดิม ดังนั้น ผู้ป่วย Heart Attack จึงมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่า 50% ยิ่งผู้ป่วยได้รับการรักษาเร็วเท่าใด ก็ยิ่งมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้นเท่านั้น ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องรวดเร็วจะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้มากกว่า 50% อาการเด่นชัดของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตัน จะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น เจ็บกลางหน้าอก บริเวณเหนือลิ้นปี่ขึ้นมาเล็กน้อย เจ็บแบบจุกแน่นคล้ายมีอะไรมาบีบหรือกดทับไว้ บางรายอาจมีอาการจุกแน่นลิ้นปี่เหมือนอาหารไม่ย่อย มักเจ็บร้าวไปที่คอ ขากรรไกร หรือไหล่ซ้าย ถ้าเป็นมากขึ้นการเคลื่อนไหวร่างกายเพียงเล็กน้อยก็อาจมีอาการ และจะเป็นอยู่นานครั้งละ 2-3 นาที อาการจะดีขึ้นถ้าได้หยุดพัก หรืออมยาขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ การรักษาที่สำคัญ คือการให้ยา หรือการทำบอลลูนเพื่อขยายเส้นเลือดที่อุดตันทันที ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและอ่านผลทันทีโดยแพทย์หัวใจพร้อมกับการตรวจเลือด และถ้าเป็นหลอดเลือดหัวใจอุดตันจริง ควรได้รับยาทันทีภายใน 30 นาที หรือที่ดีกว่าคือ การขยายด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด ควรขยายเส้นเลือดให้ได้ภายใน 90 นาที ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคนี้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผู้ชายอายุมากกว่า 45 ปี  ผู้หญิงอายุมากกว่า 55 ปี ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ มีไขมันในเส้นเลือดสูง โรคอ้วน และกรรมพันธุ์ คือมีญาติพี่น้องสายตรงเป็นโรคนี้ รวมทั้งภาวะเครียด ขาดการออกกำลังกาย สำหรับยาบางกลุ่มที่ใช้ในปริมาณมากเกินไปก็อาจมีผลกับหัวใจได้ อีกทั้งกลุ่มคนที่ไม่มีประวัติเป็นโรคหัวใจก็อาจมีหลอดเลือดหัวใจตีบแฝงอยู่ได้เช่นกันหลอดเลือดสมองตีบ/ตัน อีกหนึ่งโรคต้องระวังของผู้สูงวัย มุมปากตก รู้สึกชาใบหน้า พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง เดินเซ ปวดหัวมาก ตาพร่ามัวมองเห็นภาพซ้อน พึงสังเกตอาการเหล่านี้ไว้ให้ดี เพราะนั่นคือสัญญาณอันตรายที่บอกว่าคุณอาจมีความเสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบ/ตันได้ นพ.ยรรยง ทองเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์สมองและระบบประสาท กล่าวถึงโรคหลอดเลือดสมองตีบ/ตัน หรือ Stroke ว่าเกิดจากภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เพราะมีการอุดตันของเส้นเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงสมอง ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติต่างๆ เช่น ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน เวียนศีรษะ มุมปากตก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด หรือพูดลำบาก เดินเซ มีอาการแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย ชาครึ่งซีก บางครั้งปวดศีรษะรุนแรง อาการเหล่านี้มักเกิดในกลุ่มวัยกลางคนขึ้นไป และกลุ่มที่มีความเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง เป็นโรคเบาหวาน มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ และไขมันในเลือดสูง เป็นต้นหลอดเลือดสมองอุดตันได้อย่างไร สาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดสมองเกิดการอุดตัน มาจากการที่มีไขมันไปเกาะด้านในผนังหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดการตีบของเส้นเลือด หรือมีลิ่มเลือดแข็งตัวขนาดเล็กเกาะที่ลิ้นหัวใจและผนังหัวใจ หลุดไปตามกระแสเลือดไปอุดตันหลอดเลือดในสมอง ซึ่งมักพบในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจโต ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว ผนังหัวใจรั่ว และเกิดจากการฉีกของผนังหลอดเลือดด้านในทำให้เส้นเลือดอุดตัน ปัจจัยสำคัญในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดสมองอุดตันคือ พยายามให้เซลล์ของสมองอยู่รอดให้ได้นานที่สุด โดยการทำให้เลือดไหลเวียนได้ทันเวลาและในระดับที่เพียงพอ จะสามารถทำให้เนื้อสมองบริเวณนั้นฟื้นตัวได้เร็วและผู้ป่วยสามารถกลับมาเป็นปกติได้ โดยจะต้องทำภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อให้ยาละลายลิ่มเลือดภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่มีอาการน่าสงสัยอย่าชะล่าใจ ควรเข้ามาพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจให้แน่ใจว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองจริงหรือไม่ เป็นที่จุดใด มีความรุนแรงเพียงใด ซึ่งการตรวจมีหลายวิธี เช่น ตรวจสมองด้วยคอมพิวเตอร์ (CT Scan) ตรวจด้วยคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI และ MRA) และตรวจอัลตร้าซาวด์หลอดเลือดคอ (Carotid Doppler) เป็นต้น ซึ่งผลการตรวจที่รวดเร็วแม่นยำและละเอียดพอจะช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปความดันโลหิตสูง...ฆาตกรเงียบ “ความดันโลหิตสูง” เป็นโรคที่คุ้นหูของทุกคน แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่าความดันโลหิตสูงคือภัยเงียบที่อาจระเบิดขึ้นมาอย่างไม่ทันตั้งตัวได้ในวันใดวันหนึ่ง... แล้วตัวท่านเองเป็นความดันโลหิตสูงหรือไม่? นพ.เทิดศักดิ์ เชิดชู อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด อธิบายว่า แรงดันโลหิต คือแรงดันในหลอดเลือดแดงเฉลี่ย ซึ่งเกิดจากปริมาณเลือดที่หัวใจบีบตัวออกมาในแต่ละครั้ง คูณกับแรงต้านทานของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย การบอกค่าความดันโลหิต เรามักจะบอกเป็นสองค่าคือ แรงดันโลหิตค่าบน ซึ่งเป็นแรงดันขณะหัวใจสูบฉีดเลือดออกมาในเส้นเลือดแดง (หัวใจบีบตัว) และแรงดันโลหิตค่าล่าง เป็นแรงดันที่ยังมีค้างอยู่ในหลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจไม่ได้ฉีดเลือดออกมา(หัวใจกำลังคลายตัว) โดยเกณฑ์การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงตามแนวทางของคณะกรรมการป้องกันรักษาโรคความดันโลหิตสูงของสหรัฐ(JNC7) กำหนดว่าความดันโลหิตปกติ คือค่าความดันโลหิตค่าบนน้อยกว่า 120 มม.ปรอท และค่าความดันโลหิตค่าล่างน้อยกว่า 80 มม.ปรอทความดันโลหิตเริ่มสูง คือความดันโลหิตค่าบน 120 - 139 มม.ปรอท หรือความดันโลหิตค่าล่าง 80 - 89 มม.ปรอทความดันโลหิตสูง คือความดันโลหิตค่าบนตั้งแต่ 140 มม.ปรอทขึ้นไป หรือความดันโลหิตค่าล่างตั้งแต่ 90 มม.ปรอทขึ้นไป จากการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า สองในสามของประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปี จะมีความดันโลหิตสูง ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตสูง เนื่องจากไม่มีอาการใดๆ และทำให้เกิดผลเสียโดยไม่ทันได้ป้องกันหรือรับการรักษา ด้วยเหตุนี้โรคความดันโลหิตสูงจึงได้รับสมญาว่า “ฆาตกรเงียบ”ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงได้อย่างไรควบคุมน้ำหนัก ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักตัวเกินกำหนด เมื่อลดน้ำหนักลง 10 กิโลกรัม จะสามารถลดความดันโลหิตค่าบนลงได้ 2.5 มม.ปรอท และลดความดันโลหิตค่าล่างลงได้ 5.20 มม.ปรอทจำกัดปริมาณเกลือในอาหาร จำกัดปริมาณเกลือที่รับประทานในแต่ละวันไม่เกิน 6 กรัม (เกลือ 1 ช้อนชามีประมาณ 5 กรัม) จะช่วยลดความดันโลหิตลงได้ประมาณ 2-8 มม.ปรอทหลีกเลี่ยงความเครียด งดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ เพราะมีผลทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ง่ายขึ้นออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 20-30 นาทีต่อวัน เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกัน 3-6 เดือนขึ้นไป จะสามารถลดความดันโลหิตลงได้ประมาณ 10-20 มม.ปรอท การออกกำลังกายที่เหมาะสมต้องเป็นการออกกำลังแบบที่มีการใช้ออกซิเจนให้มาก มีการเคลื่อนไหว หรือที่เรียกว่าการออกกำลังกายแบบ แอโรบิกพบแพทย์และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ แจ้งแพทย์เกี่ยวกับโรคประจำตัวและยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำทุกชนิด แพทย์จะพิจารณายาลดความดันโลหิตที่เหมาะสมและติดตามผลการรักษาต่อไป หากท่านมีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ตามคำแนะนำเหล่านี้แล้ว จะทำให้ท่านสามารถป้องกันตนเองจากฆาตกรรายนี้ได้อย่างรู้เท่าทัน
ข้อเข่าเสื่อม...ปัญหาที่มาพร้อมกับอายุมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นอวัยวะหนึ่งที่หนีไม่พ้นความเสื่อมคือ “ข้อเข่า” ปัญหาข้อเข่าเสื่อมนอกจากจะนำมาซึ่งความเจ็บปวดทุกย่างก้าวที่เดินแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในด้านอื่นๆ อีกด้วยนอ.นพ.จำรูญเกียรติ ลีลเศรษฐพร ผู้อำนวยการศูนย์ฟื้นฟูข้อเสื่อม กล่าวเตือนถึงผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้ข้อแบบผิดๆ เช่น นั่งพับเพียบนานๆ นั่งยองๆ นั่งคุกเข่า ผู้ที่ชอบอยู่ในท่างอข้อเข่าเป็นเวลานาน เดินขึ้น-ลงบันไดบ่อยๆ รวมถึงผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากจะทำให้เข่าต้องรับภาระหนัก หรือผู้มีอาชีพที่ต้องใช้ข้อเข่ามากกว่าคนปกติ มีการใช้งานของข้อซ้ำๆ รวมทั้งมีแรงกดที่ข้อมากเป็นเวลานาน หากสังเกตพบว่าตนมีอาการปวดข้อเข่าเวลายืน เดิน หรือขึ้นลงบันได แต่เวลาพักหรือใช้งานน้อยลงจะไม่ปวด จนเมื่อข้อเข่าเสื่อมมากขึ้นจะทำให้มีอาการกล้ามเนื้อด้านหลังเข่าตึงและปวด อีกทั้งอาจมีอาการปวดข้อเข่าตอนกลางคืนหรือเวลาอากาศเย็นชื้น อาจมีเสียงดังขณะเคลื่อนไหว หรืออาจปวดมากเวลาเปลี่ยนท่านั่งเป็นยืน ซึ่งหากผู้ป่วยยังเพิกเฉยไม่ทำการรักษาอย่างจริงจัง จะส่งผลให้ข้อเข่าโก่งงอผิดรูปเพิ่มขึ้นจนเดินไม่ได้ในที่สุดเข่าเสื่อม...ซ่อมได้แนวทางการรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อม เริ่มตั้งแต่การรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา คือการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน โดยหลีกเลี่ยงการกระทำที่เป็นอันตรายต่อข้อเข่า ออกกำลังกายเพื่อบริหารกล้ามเนื้อข้อเข่า ทำกายภาพบำบัด แต่หากอาการปวดข้อเข่ายังไม่ดีขึ้น แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาซึ่งมีอยู่ 2 แนวทางคือ การรักษาแบบไม่ผ่าตัด เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก แพทย์จะให้รับประทานยาลดการอักเสบ หรือการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่า ประกอบกับการทำกายภาพบำบัด และอีกหนึ่งแนวทางคือ การรักษาโดยการผ่าตัด มีอยู่หลายวิธีตามสภาพและความรุนแรงของข้อเข่าที่เสื่อมการผ่าตัดโดยการส่องกล้องข้อเข่าแพทย์จะเจาะรูเล็กๆ 2 รูใต้ลูกสะบ้า เพื่อสอดกล้องเข้าไปในข้อเข่า แพทย์สามารถมองเห็นผิวกระดูกอ่อน หมอนรองกระดูก ความสมบูรณ์ของเนื้อเยื่อในข้อเข่าผ่านจอมอนิเตอร์ และสามารถประเมินขอบเขตที่สึกหรอในเข่าได้ ระหว่างการผ่าตัดแพทย์สามารถสอดเครื่องมือพิเศษเพื่อทำการผ่าตัดตามที่แพทย์ต้องการได้การผ่าตัดผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน คือการผ่าตัดเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่เสื่อมมากแล้วออก โดยเก็บรักษาผิวข้อในส่วนที่กระดูกอ่อนยังอยู่ในสภาพดีไว้ แล้วทดแทนด้วยผิวข้อเข่าเทียมและกระดูกอ่อนเทียมเพียงบางส่วน ผู้ป่วยสามารถใช้ข้อเข่าได้ใกล้เคียงข้อเข่าปกติมากที่สุดการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าทั้งหมด ในรายที่ข้อเข่ามีการเสื่อมสภาพอย่างรุนแรง และได้พยายามรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล หรือเกิดการผิดรูปของข้อเข่าในลักษณะเข่าโก่งงอ จนเป็นปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน จะผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมทั้งหมด แล้วเสริมฝังข้อเข่าใหม่ทดแทน สิ่งสำคัญที่ควรระวังในการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม คือภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ดังนั้นเพื่อการลดภาวะแทรกซ้อน และยืดอายุการใช้งานข้อเทียมให้ได้นานที่สุด แพทย์จึงประยุกต์นำเทคโนโลยีมาช่วยในการผ่าตัดเทคนิคผ่าตัดแบบแผลเล็ก ควบคู่การใช้เทคโนโลยีระบบนำร่องการผ่าตัดแบบแผลเล็ก ( Minimal Invasive Surgery) จะช่วยให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลงอย่างมาก อาการปวดหลังผ่าตัดน้อย เสียเลือดในการผ่าตัดน้อยมาก ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน และทำให้การผ่าตัดมีความปลอดภัยสูงโดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะฟื้นฟูสภาพหลังผ่าตัดได้เร็ว ส่วนใหญ่สามารถเดินได้ภายใน 1-2 วันหลังผ่าตัด และเพื่อลดความคลาดเคลื่อนระหว่างทำผ่าตัด ระบบคอมพิวเตอร์จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับการผ่าตัดด้วยเทคนิคผ่าตัดแผลเล็ก โดยแพทย์จะทำการป้อนข้อมูลให้แก่คอมพิวเตอร์ในขณะทำผ่าตัด ระบบคอมพิวเตอร์จะสร้างภาพ 3 มิติของบริเวณข้อเข่าที่จะผ่าตัด ข้อมูลดังกล่าวช่วยให้แพทย์สามารถแต่งผิวกระดูกที่จะรองรับผิวข้อเทียมได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามผลสำเร็จของการผ่าตัดยังขึ้นอยู่กับความชำนาญและประสบการณ์ในการผ่าตัดข้อเข่าเทียมของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อผลของการรักษาอย่างไรก็ตามเมื่อผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดแล้ว แม้จะหายปวดข้อเข่าและกลับไปใช้งานได้ดีก็ตาม ผู้ป่วยควรกลับไปพบแพทย์เป็นระยะๆ ตามที่แพทย์นัดเพื่อให้สามารถใช้ข้อเข่าใหม่ได้นานที่สุดอย่าวางใจเมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่กับ“เบาหวาน” “ประมาณการว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า จะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นถึง 360 ล้านคน ซึ่งจะส่งผลกระทบด้านเศรษฐกิจในประเทศยากจนอย่างรุนแรง” ในการประชุมกรรมการบริหารสมาคมเบาหวานภาคพื้นเอเชียแปซิฟิค และสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ ณ เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา เมื่อเดือนตุลาคมปี 2552 มีการรายงานว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยเบาหวานมากกว่า 250 ล้านคนทั่วโลก และพบแนวโน้มสูงขึ้นมากในประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางและยากจน ประมาณการไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 360 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งจะเกิดผลกระทบด้านเศรษฐกิจในประเทศยากจนอย่างรุนแรง เป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่า ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของเบาหวานคือ กรรมพันธุ์ ความอ้วน การไม่ออกกำลังกาย ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง เป็นต้น แต่รู้หรือไม่ว่าอันตรายที่สำคัญของเบาหวานคือ โรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในอวัยวะต่างๆ ทั้งหัวใจ สมอง ตา ไต ปลายประสาท เท้า ตลอดจนการติดเชื้อที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานหลายรายต้องสูญเสียอวัยวะไปรู้ได้อย่างไรว่าเข้าใกล้เบาหวานแล้วพญ.ศศิธร รุ่งบรรณพันธุ์ อายุรแพทย์ระบบต่อมไร้ท่อและเบาหวาน กล่าวถึงวิธีสังเกตอาการของผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นเบาหวานว่าจะมีอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย หิวบ่อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เมื่อสงสัยว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ สำหรับการรักษานั้นแพทย์ต้องรวบรวมข้อมูลหลายอย่าง เพื่อประกอบการพิจารณาให้การรักษา ได้แก่ศึกษาจากประวัติผู้ป่วยว่ามีโรคแทรกซ้อนของเบาหวานหรือยัง เคยรักษาโรคเบาหวานมาก่อนหรือไม่ ประวัติโรคอื่นๆ ประวัติเบาหวานในครอบครัว รวมถึงนิสัยในการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย  และการตรวจร่างกายโดยเฉพาะระบบหลอดเลือดและปลายประสาท   นอกจากนั้น ในผู้หญิงต้องดูประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดบุตรด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจหาค่าน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร ค่าเฉลี่ยน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด ตรวจหน้าที่ของไตและตับ และกรดยูริคในเลือด การเอ็กซ์เรย์ปอด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจปัสสาวะ และปริมาณไข่ขาวระดับไมโครในปัสสาวะแพทย์จะประเมินว่าท่านเป็นเบาหวานประเภทไหน สมควรให้การรักษาอย่างไร เพื่อตั้งเป้าหมายการรักษาให้เหมาะสมกับอายุ และสภาพของผู้ป่วย รวมทั้งพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมกับวิถีการดำเนินชีวิต พร้อมทั้งให้ความรู้และคำแนะนำเรื่องโรคเบาหวานและการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง ตลอดจนการให้กำลังใจกับผู้ที่ต้องเผชิญกับโรคเบาหวาน วิธีการรักษาเบาหวานประกอบด้วย การควบคุมอาหาร หรือการรักษาด้วยอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยา แต่การรักษาให้ได้ผลดีขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันของผู้ที่เป็น รวมถึงการดูแลรักษาที่เป็นทีมแบบสหสาขาวิชาชีพ การให้ความรู้ ความเข้าใจ และให้กำลังใจเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเป้าหมายการรักษาที่ดีที่สุด ประโยชน์จากการรักษาเบาหวาน ไม่ใช่เพียงแค่รักษาเพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดปกติเท่านั้น การรักษาจะมุ่งถึงปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันของโรคเบาหวาน เช่น น้ำตาลสูง หรือต่ำจนเกินไป ลดการเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังของเบาหวาน เช่น เบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงไต ลดอัตราการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจ หรือสมองตีบ ทั้งนี้เพื่อให้คนที่เป็นเบาหวานมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้ที่เป็นเองว่ามีความตั้งใจจริงแค่ไหนที่จะรักษาเบาหวานเอาใจใส่สุขภาพตั้งแต่วันนี้...เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในวัยเกษียณโรงพยาบาลเวชธานีwww.vejthani.com

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive