Wednesday, March 31, 2010

ความดันโลหิตสูง...ฆาตกรเงียบ

ความดันโลหิตสูง...ฆาตกรเงียบ

“ความดันโลหิตสูง” เป็นโรคที่คุ้นหูของทุกคน แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่าความดันโลหิตสูงคือภัยเงียบที่อาจระเบิดขึ้นมาอย่างไม่ทันตั้งตัวได้ในวันใดวันหนึ่ง...นพ.เทิดศักดิ์ เชิดชู อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด อธิบายว่า แรงดันโลหิต คือแรงดันในหลอดเลือดแดงเฉลี่ย ซึ่งเกิดจากปริมาณเลือดที่หัวใจบีบตัวออกมาในแต่ละครั้ง คูณกับแรงต้านทานของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย การบอกค่าความดันโลหิต เรามักจะบอกเป็นสองค่าคือ แรงดันโลหิตค่าบน ซึ่งเป็นแรงดันขณะหัวใจสูบฉีดเลือดออกมาในเส้นเลือดแดง (หัวใจบีบตัว) และแรงดันโลหิตค่าล่าง เป็นแรงดันที่ยังมีค้างอยู่ในหลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจไม่ได้ฉีดเลือดออกมา (หัวใจกำลังคลายตัว) โดยเกณฑ์การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูงตามแนวทางของคณะกรรมการป้องกันรักษาโรคความดันโลหิตสูงของสหรัฐ (JNC7) กำหนดว่าความดันโลหิตปกติ คือค่าความดันโลหิตค่าบนน้อยกว่า 120 มม.ปรอท และค่าความดันโลหิตค่าล่างน้อยกว่า 80 มม.ปรอทความดันโลหิตเริ่มสูง คือความดันโลหิตค่าบน 120 - 139 มม.ปรอท หรือความดันโลหิตค่าล่าง 80 - 89 มม.ปรอทความดันโลหิตสูง คือความดันโลหิตค่าบนตั้งแต่ 140 มม.ปรอทขึ้นไป หรือความดันโลหิตค่าล่างตั้งแต่ 90 มม.ปรอทขึ้นไปจากการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า สองในสามของประชากรที่อายุมากกว่า 65 ปี จะมีความดันโลหิตสูง และเป็นความเข้าใจผิดที่มักจะคิดว่าถ้ามีความดันโลหิตสูงก็จะมีอาการปวดศีรษะ จากการสำรวจจะเห็นได้ว่า คนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองมีความดันโลหิตสูง เนื่องจากไม่มีอาการใดๆ และความดันโลหิตก็ทำให้เกิดผลเสียโดยไม่ทันได้ป้องกันหรือรับการรักษา ด้วยเหตุนี้โรคความดันโลหิตสูงจึงได้รับสมญาว่า “ฆาตกรเงียบ” (Silent Killer)ความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดผลเสียต่อระบบต่างๆ ของร่างกายดังนี้หัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวและหัวใจโตขึ้น นอกจากนั้นยังทำให้หลอดเลือดหัวใจเสื่อมสภาพและเกิดการอุดตัน ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด เจ็บหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวายได้สมอง ความดันโลหิตสูง สามารถทำให้หลอดเลือดสมองตีบตันได้เช่นเดียวกับเส้นเลือดหัวใจ และอาจจะทำให้เส้นเลือดสมองแตกได้ ซึ่งทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ไต ความดันโลหิตสูง สามารถทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสื่อมได้เช่นกัน ซึ่งจะทำให้เป็นไตวายตา จอประสาทตาของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจะมีโอกาสเสื่อมจากเส้นเลือดฝอยอุดตัน เส้นเลือดฝอยแตก จอประสาทตาลอกได้ง่าย ทำให้เกิดภาวะตามัว หรืออาจตาบอดได้หลอดเลือด ความดันโลหิตสูงจะทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายเสื่อม จึงสามารถส่งผลกระทบต่ออวัยวะทั่วร่างกายได้ เช่น เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ ทำให้ปวดกล้ามเนื้อ ปวดขา เดินได้ไม่ไกลควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงได้อย่างไรควบคุมน้ำหนัก ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักตัวเกินกำหนด เมื่อลดน้ำหนักลง 10 กิโลกรัม จะสามารถลดความดันโลหิตค่าบนลงได้ 2.5 มม.ปรอท และลดความดันโลหิตค่าล่างลงได้ 5.20 มม.ปรอทจำกัดปริมาณเกลือในอาหาร จำกัดปริมาณเกลือที่รับประทานในแต่ละวันไม่เกิน 6 กรัม (เกลือ 1 ช้อนชามีประมาณ 5 กรัม) จะช่วยลดความดันโลหิตลงได้ประมาณ 2-8 มม.ปรอทหลีกเลี่ยงความเครียด งดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 20-30 นาทีต่อวัน เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกัน 3-6 เดือนขึ้นไป จะสามารถลดความดันโลหิตลงได้ประมาณ 10-20 มม.ปรอท การออกกำลังกายที่เหมาะสมต้องเป็นการออกกำลังแบบที่มีการใช้ออกซิเจนให้มาก มีการเคลื่อนไหว หรือที่เรียกว่าการออกกำลังกายแบบ แอโรบิกพบแพทย์และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ แจ้งแพทย์เกี่ยวกับโรคประจำตัวและยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำทุกชนิด แพทย์จะพิจารณายาลดความดันโลหิตที่เหมาะสมและติดตามผลการรักษาต่อไปในกรณีที่ท่านมีเครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้าน หรือมีห้องพยาบาลในที่ทำงาน การวัดความดันโลหิตเป็นประจำและจดบันทึกไว้ จะเป็นประโยชน์ในการช่วยให้แพทย์ควบคุมความดันโลหิตของท่านได้ดีขึ้น และหากท่านมีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ตามคำแนะนำเหล่านี้แล้ว จะทำให้ท่านสามารถป้องกันตนเองจากฆาตกรรายนี้ได้อย่างรู้เท่าทันศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลเวชธานีwww.vejthani.com

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive