Saturday, March 20, 2010

ตามรอยไดโนเสาร์ที่กาฬสินธุ์

ตามรอยไดโนเสาร์ที่กาฬสินธุ์

รูปปั้นจำลองลักษณะของไดโนเสาร์ สยามโมไทรันนัส อีสานเอนซิส ที่พบในประเทศไทย ไดโนเสาร์ สิ่งมีชีวิตเก่าแก่จากโลกล้านปีก่อน มีการค้นพบใหม่อยู่เสมอ ล่าสุด ขุดค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์กินพืช ที่อาจจะเป็นสกุลใหม่ของโลก ที่ภูน้อย ต.ดินจี่ อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์...ไดโนเสาร์-เต่าล้านปี มักใช้เรียกเปรียบเปรยคนที่ล้าสมัย และตามไม่ทันความเปลี่ยนแปลง แต่ในความเป็นจริงแล้วเรื่องของ ไดโนเสาร์ สิ่งมีชีวิตเก่าแก่จากโลกล้านปีก่อน มีการค้นพบใหม่อยู่เสมอ ล่าสุด เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คณะนักธรณีวิทยาไทยจากมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ร่วมทำงานกับนักวิจัยต่างชาติ ก็เพิ่งประกาศว่าได้ขุดค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์กินพืช ที่อาจจะเป็นสกุลใหม่ของโลก ที่ภูน้อย ต.ดินจี่ อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ ซากไดโนเสาร์จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว บังเอิญว่าหลังการประกาศค้นพบไดโนเสาร์อายุ 150 ล้านปีนั้นไปแค่วันเดียว เราก็ได้มีโอกาสเฉียดเข้าไปใกล้แหล่งขุดค้น เพราะ ดิสคัฟเวอรี่แชนแนล พาสื่อมวลชนไปร่วมงานเปิดตัวสารคดีเรื่อง มาร์ชออฟ เดอะไดโนซอร์ (March of the Dinosaurs) ซึ่งเสนอเรื่องราวย้อนกลับไปเมื่อ 65 ล้านปีก่อน เมื่อครั้งที่สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่นี้เคยครองโลกในอดีต โดยใช้เทคนิคการถ่ายทำภาพยนตร์ผสมผสานกับเทคนิคกราฟฟิก 3 มิติที่เหมือนจริง ที่พิพิธภัณฑ์สิรินธร อ.สหัสขันธุ์ จ.กาฬสินธุ์ ห่างออกไปต่าง อำเภออีก 50 กม. ก็คือบริเวณขุดค้นที่ภูน้อย เราจึงไม่พลาดโอกาสที่จะไปดูการทำงานของคณะนักธรณีวิทยาให้เห็นเป็นขวัญตา สักครั้ง ที่เนินเขาเล็กแห่งนั้น รายล้อมไปด้วยที่นาของชาวบ้าน ดูไกลๆก็ไม่ได้แตกต่างจากเนินเขาอื่นที่พบเห็นได้ทั่วไป แต่เมื่อ ปีนทางเดินขึ้นเนินเขาแบบง่ายๆ ที่ใช้สำหรับคณะขุดค้นไม่กี่สิบคนแล้ว ก็ต้องตะลึงกับสิ่งที่ได้พบ ใช่แล้ว มันคือซากฟอสซิลโครงกระดูกขนาดใหญ่ของสิ่งมีชีวิตเมื่อ 150 ล้านปีก่อน นอนกองอยู่ตรงหน้า แม้จากสายตาคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆ จะไม่ทราบว่ากระดูกชิ้นไหนเป็นส่วนไหน แต่การได้มาอยู่ใกล้ชิดกันในบริเวณที่ขุดค้นสดๆร้อนๆอย่างนี้ ไม่มีโอกาสจะเห็นได้ง่ายนัก กลุ่มนักวิชาการไทยและต่างชาติกำลังขุดค้นที่บริเวณภูน้อย อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ นักขุด สิบกว่าชีวิตขะมักเขม้นอยู่กับงานของตัวเอง บางคน ใช้แปรงทาสีขนาดเล็กปัดเศษฝุ่นออกก่อนบรรจงเก็บเศษกระดูกเหล่านั้นใส่ถุง พลาสติกอย่างทะนุถนอม เขียนกำกับหน้าซองว่าเป็นส่วนใดของลำตัว ก่อนนำส่งห้องปฏิบัติการที่พิพิธภัณฑ์สิรินธร เพื่อทำการศึกษาต่อไป แต่ละ วันของชาวคณะขุดค้นผ่านไปด้วยความตื่นเต้นที่ได้พบชิ้นส่วนใหม่เพิ่มขึ้น และหวังว่าในวันถัดไปจะได้พบกับชิ้นส่วนสำคัญอย่างกะโหลกศีรษะ หรือสิ่งใดก็ตามที่จะบอกได้ถึงลักษณะเด่นของสัตว์โลกล้านปีชนิดนี้ให้มาก ขึ้นกลับมายังที่พิพิธภัณฑ์สิรินธรใกล้วัดสักกะวัน  นั้นเป็นสถานที่พบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าวจัดว่าเป็นสถานจัดแสดง เรื่องราวด้านธรณีวิทยาตั้งแต่เกิดโลก จนไปถึงวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิตจากโลกล้านปีอย่างไดโนเสาร์ และสัตว์อื่น ได้อย่างน่าสนใจและนำเทคโนโลยีทันสมัยมาประกอบการเล่าเรื่องของโลกยุคโบราณ ได้อย่างน่าติดตามเพียงเดินตามรอยเท้าไดโนเสาร์เข้าไปก็จะได้พบกับส่วนจัด แสดงถาวร ซึ่งแบ่งโซนออกเป็นทั้งหมด 8 โซน รูปจำลองไดโนเสาร์ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์สิรินธร ผู้อยู่รอดคือผู้รู้จักปรับตัวเข้าหาสภาพแวดล้อม ไม่ใช่ปรับสภาพแวดล้อมเข้าหาความต้องการที่ไม่สิ้นสุด ประโยคเด็ดคมคายบอกไว้หน้าห้องจัดแสดง และสอนใจผู้เข้าชมให้รู้จักการใช้ชีวิตก่อนเข้าสู่ส่วนที่หนึ่งที่ บอกถึงเรื่องราวการเกิดโลกและจักรวาล มีภาพจำลองของลูกโลกให้เปิดดูได้เป็นชั้นๆจากเปลือกโลกเข้าสู่แกนกลางชั้นใน ซึ่งข้างในสุดมีอุณหภูมิร้อนมากหลายพันองศา มีการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกลักษณะต่างๆ ลักษณะของหินแร่ต่างๆ ส่วนการจัดแสดงของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ยุคแคมเบรียนสิ่งมีชีวิตในโลก ยุคโบราณยังมีแมลงปอยักษ์ที่เกิดก่อนไดโนเสาร์ แต่รูปร่างเหมือนกับในปัจจุบันที่มีขนาดเล็กลงอันเนื่องมาจากการปรับตัว ในโซนถัดมาบอกเล่าเรื่องมหายุคมีโซโซอิกในยุคนี้แผ่นดินที่ปัจจุบันเป็น ประเทศไทย เป็นแหล่งอาศัยของไดโนเสาร์นานาชนิด หรือที่ทึกทักเรียกเอาว่า ไดโนเสาร์ไทย ดร.วราวุธ สุธีธร ผอ.สำนักวิจัยซากดึกดำบรรพ์ทำท่าชี้บริเวณสะบักของตนขณะ อธิบายชิ้นส่วนของไดโนเสาร์ที่ค้นพบ ต่อจากนั้นมาอีก 2 โซนเป็นเรื่องวิถีชีวิตไดโนเสาร์ และการคืนชีวิตให้ไดโนเสาร์ เรื่องราวการค้นพบใหม่ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้ได้เข้าใจเรื่องราวในมุมลึก ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างและการล่าเหยื่อ ส่วนการคืนชีวิตให้ไดโนเสาร์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อ 65 ล้านปีก่อนนั้น ก็ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือ ความรู้จากนักโบราณชีววิทยา ที่ได้ฟื้นชีวิตให้กับซากดึกดำบรรพ์ ให้เราได้ย้อนไปสัมผัสกับยุคไดโนเสาร์เป็นใหญ่ได้อีก ในโซนที่ 7 เป็นเรื่องของมหายุคซีโนโซอิกที่เป็นยุคของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หลังการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ และโซนสุดท้ายคือ เรื่องของมนุษย์ เริ่มจากไพรเมตหรือสัตว์ในตระกูลลิง ได้แยกตัวออกจากพันธุ์ลิงใหญ่และวิวัฒนาการมาเป็นสัตว์เดนิ 2 ขาจนถึงมนุษย์ในยุคปัจจุบันจบการชมพิพิธภัณฑ์ภายในอาคารเย็นฉ่ำและ ทันสมัยแล้ว ก็ไม่ควรพลาดเดินขึ้นเขาต่อไปอีกสักเล็กน้อย 2-300 เมตร จะได้พบกับพิพิธภัณฑ์แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ซึ่งสร้างเป็นอาคารคลุมหลุมขุดค้นไดโนเสาร์ และบอกเล่าเรื่องราวเฉพาะการขุดค้นไดโนเสาร์ที่แห่งนี้เมื่อ 20 ปีก่อน ให้เห็นเบื้องหลังในการทำงานก่อนที่เรื่องราวของไดโนเสาร์ในไทยจะมีการได้ รับความสนใจมากขึ้นในยุคนี้ ภายในห้องปฏิบัติการของพิพิธภัณฑ์สิรินธรเก็บชิ้นส่วนของสัตว์ดึกดำบรรพ์ไว้เพื่อ การศึกษา พิพิธภัณฑ์สิรินธรแห่งนี้ อยู่ในความดูแลของกรมธรณีวิทยา ไม่เก็บค่าเข้าชม แต่บอกได้คำเดียวว่า คุ้มค่า แก่การเดินทางไปดู เพราะเทียบชั้นพิพิธภัณฑ์ทันสมัยในเมืองนอกได้สบาย แล้วเรื่องอะไรเราจะต้องเสียเงินไปไกลๆด้วยเล่า ในเมื่อบ้านเราก็มีของดีที่คนต่างชาติเองยังมาดูอยู่บ่อยๆ พิพิธภัณฑ์ นี้เปิดบริการทุกวันอังคาร-วันอาทิตย์ และปิดทุกวันจันทร์ ยกเว้นวันจันทร์ที่ตรงกับวันหยุดนักขัตฤกษ์เปิดบริการเป็นปกติ เวลา 08.30-17.00 น. โทร. 0-4387-1613 หรือทางเว็บไซต์ www.dmr.go.th

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive