Saturday, March 20, 2010

ย้อนอดีต...บ้านร่มเกล้า จากสนามรบ สู่ดงดอกไม้

ย้อนอดีต...บ้านร่มเกล้า จากสนามรบ สู่ดงดอกไม้

สาวชาวม้งกับชุดประจำเผ่า.ย้อน อดีตกลับไปราว 20 ปีก่อน หมู่บ้านร่มเกล้า อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก คือพื้นที่แห่งความขัดแย้งกรณีพิพาทเส้นเขตแดนไทย-ลาว กลายเป็นตำนานเศร้าที่ผู้คนนับร้อยนับพันชีวิต ต้องมาสูญสิ้นในสมรภูมิเลือดแห่งนี้ เพียงเพราะทิฐิ และไม่ยอมพูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผล ทั้งที่มีรากเหง้าภาษาเดียวกัน บ้านร่มเกล้า อดีตสมรภูมิเลือด.แม้ สถานการณ์การสู้รบจะยุติลงด้วยการเจรจา แต่ยังไม่มีการปักปันแบ่งเขตแดนชัดเจน หากการปะทะในวันนั้น ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการร่วมกันดูแลพื้นที่ฉันเพื่อนบ้าน จากศึกประวัติศาสตร์ครั้งนั้น ไม่เพียงแต่เลือดเนื้อที่สูญเสียไป แต่ยังกระทบไปถึงผืนป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์ สิ้นสลายจนแทบราพพณาสูร ศูนย์รวมพรรณไม้บ้านร่มเกล้าฯ.เมื่อ วันที่ 5 มีนาคม 2542 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯทอดพระเนตรความก้าวหน้าในการดำเนินงาน โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ ภูขัด ภูเมี่ยง ภูสอยดาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อทอดพระเนตรเห็นสภาพป่าที่ได้รับความเสียหาย จึงทรงมีพระราชดำริ ให้องค์การสวนพฤกษศาสตร์ จัดตั้ง ศูนย์รวมพรรณไม้บ้านร่มเกล้าในพระราชดำริ ขึ้น บริเวณส่วนปลายของเทือกเขาภูสอยดาว เพื่อพลิกฟื้นผืนป่าพันธุ์พืชพันธุ์ไม้ให้กลับมาดังเดิม ดนัย สรรพศรี หัวหน้าศูนย์รวมพรรณไม้บ้านร่มเกล้าฯเล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของสถานที่แห่ง นี้ ดอกสร้อยสยาม. ศูนย์ รวมพรรณไม้บ้านร่มเกล้าฯ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้ภาคเหนือตอนล่าง ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพของป่าดิบเขา ป่าดิบแล้ง และป่าผสมผลัดใบ สังคมพืชป่าบริเวณชายแดนไทย-ลาว มีพันธุ์ไม้หายากใกล้สูญพันธุ์ โดยเฉพาะกล้วยไม้ อาทิ มณฑาภู รองเท้านารีอินทนนท์ เอื้องพลายชมพู สามปอยหลวง และพืชถิ่นเดียวอย่าง สร้อยสยาม ดอกไม้ สัญลักษณ์ของจังหวัดพิษณุโลก ที่ไม่พบเห็นที่ไหนนอกจากรวบรวมและ ขยายพันธุ์ไม้ไว้มากมายแล้ว ที่นี่ยังทำหน้าที่ปลูกป่า ฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรม และที่สำคัญคือการปลุกจิตสำนึกให้ชุมชนให้รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ตลอดจนจัดสรรที่ทำกินให้แก่ชาวบ้าน บ้านร่มเกล้าและหมู่บ้านข้างเคียง เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทะเลหมอกยามเช้า.ด้วย ความสูง 750-1,280 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ที่นี่มีอากาศเย็นสบายตลอดปี และมีจุดชมวิวสวยงามหลายมุม แค่ยืนเตร่หน้าที่ทำการศูนย์ฯก็ได้ชื่นชมทัศนียภาพเทือกเขาถึง 3 ลูก คือ ภูขัด ภูเมี่ยง และภูสอยดาว ยิ่งยามบ่ายแก่ๆนั่งจิบกาแฟหอมๆ รอชมอาทิตย์ตกเหนือภูเมี่ยง รับรองโรแมนติกอย่าบอกใคร ลานกางเต็นท์บนยอดเนิน.หรือ หากใครอยากค้างแรมบนนี้ ทางศูนย์ฯจัดลานกางเต็นท์ไว้บนเนินสูง เพื่อให้สัมผัสลมเย็นอย่างฉ่ำปอด  พร้อมลิ้มรสอาหารพื้นเมืองรอบกองไฟ และการร่ายรำต้อนรับผู้มาเยือนอย่างอบอุ่นจากพี่น้องชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง หลังการแสดงวัฒนธรรม ประเพณี และเรื่องราวความเป็นมาของชนเผ่าในดินแดนแห่งนี้จบลง ยังมีการแสดงอีกชุดรอให้ชมอยู่ตลอดทั้งคืน เพียงแค่หาที่เอนกายให้เหมาะ แหงนหน้ามองดวงดาวระยิบระยับนับพันบนฟากฟ้า เพียงเท่านี้ความสุขก็รายล้อมอยู่รอบตัวเราแล้ว อาทิตย์ขึ้นเหนือเนิน 1428.คาราวานรถอีต็อกชมหมู่บ้าน.ปรี๊ด ดดดดด...เสียงนกหวีดจากพี่ทหารดังลั่น ปลุกผู้หลับฝันหวานอยู่ในถุงนอนอุ่นให้ตื่นขึ้นมา เตรียมตัวเดินทางไปชมแสงแรกของวันที่จะสาดส่อง บนยอดเนิน 1428 เนินแห่งวีรกรรมที่เหล่านักรบไทยผู้กล้าต่างพลีชีพปกป้องอธิปไตย การได้โดยสารรถบรรทุกทหารยูนิม็อกสีเขียวขี้ม้าที่เคยผ่านศึกสงครามมา ทำให้รู้สึกเหมือนได้ย้อนอดีตสู่สมรภูมิเลือดอันดุเดือดอีกครั้ง แม้ความงามของอาทิตย์ยามเช้าที่นี่จะไม่ด้อยไปกว่าที่ไหน แต่สิ่งแตกต่างจากที่อื่น ซึ่งคอยย้ำเตือนผู้มาเยือนให้พึงระลึกถึงไว้เสมอว่า สงครามคือความสูญเสีย มีเพียงสันติภาพเท่านั้นที่มวลมนุษย์ทุกชาติทุกเผ่าพันธุ์ปรารถนาทหารถ่ายทอดเรื่องราวในสงคราม.ไม่ ต้องเดินทางไปไกลถึงภาคเหนือตอนบน ก็ได้ชมทะเลหมอกสวยๆ ที่ลอยอ้อยอิ่งระเรื่อยผืนป่ากว้างใหญ่ไกลสุดลูกหูลูกตา หลังสูดไอหมอกกันจนหนำใจ และอิ่มท้องด้วยกาแฟสดตบท้ายด้วยข้าวต้มอุ่นๆแล้วเรารีบกระโดดขึ้นรถอีต็อก ที่พี่น้องชาวม้งติดเครื่องรอรับเพื่อเดินทางเข้าหมู่บ้านร่มเกล้า ซึ่งวันนี้มีแต่ความสงบสุข ชาวบ้านมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่าย ทำเกษตรกรรมปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ทอผ้า ไปตามประสา ท่ามกลางความงาม ของพรรณไม้และสุนทรียภาพแห่งขุนเขา ที่นี่จึงตรงตามคอนเซปต์ ห่มหมอก กอดหนาว ดูดาวบนภู สมดังที่ นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ตั้งไว้ทุกประการ และจะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่ทรงคุณค่าของเมืองสองแคว ซึ่งยังคงแฝงด้วยอดีตที่คอยเล่าขานตำนานศึกให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้ถึง วีรกรรมการเสียสละของเหล่านักรบไทยผู้กล้า อยากได้รายละเอียด ที่พัก การเดินทาง และข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ ศูนย์รวมพรรณไม้บ้านร่มเกล้าฯ โทร.0-5531-6713 ต่อ 104-105, 08-9851-4739 หรือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพิษณุโลก โทร.0-5525-2742-3 จะได้รับความกระจ่างมากขึ้น.

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive