Thursday, March 18, 2010

โรคอัลไซเมอร์กับผู้สูงอายุ

โรคอัลไซเมอร์กับผู้สูงอายุ

ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์การแพทย์มีความเจริญก้าวหน้าไปมาก ทำให้คนมีอายุยืนยาวขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้พบโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมของร่างกายมากขึ้นในผู้สูงอายุ เช่น โรคหลอดเลือดแข็งตัวที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือแตก (ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ หรืออัมพาตครึ่งซีก) โรคไขข้ออักเสบจากความเสื่อม โรคกระดูกพรุน และโรคสมองเสื่อมโดยไม่มีสาเหตุ เราเรียกโรคโรคนี้ว่า โรคอัลไซเมอร์ โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสลายของระบบประสาทส่วนกลาง พบว่าทั่วโลกมีคนเป็นโรคนี้กว่า 20 ล้านคน โดยเฉลี่ยผู้ป่วยจะมีอายุสั้น และเสียชีวิตภายใน 10 ปีหลังเกิดโรค จนถึงปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ได้ อัลไซเมอร์พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยสูญเสียความทรงจำ มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปจนไม่สามารถดูแลตนเองได้อาการของผู้ป่วยอาจแบ่งได้เป็น 4 ระยะ1.  ระยะที่หนึ่ง ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาเรื่องของความทรงจำ มีอาการลืมในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ โดยเฉพาะเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น ในขณะที่ความทรงจำในอดีตยังดีอยู่ ผู้ป่วยจะดูเชื่องช้าลง ไม่กระฉับกระเฉง เริ่มจำหนทาง หรือชื่อคนบางคนไม่ได้ ในช่วงนี้ผู้ป่วยอาจมีอารมณ์โกรธง่าย หรือซึมเศร้า การดูแลผู้ป่วยในระยะนี้ เริ่มตั้งแต่การให้เวลาผู้ป่วยในการตอบคำถาม หรือการตอบสนองกับสิ่งรอบข้าง เนื่องจากผู้ป่วยจะเชื่องช้าลงจากการทำงานของสมองที่เสียไป ควรจะช่วยให้ผู้ป่วยคลายความกังวลโดยบอกขั้นตอนทีละลำดับช้า ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยทำตามได้ และควรจัดให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนเป็นช่วง ๆ จะทำให้ผู้ป่วยอารมณ์ดีขึ้น2.  ระยะที่สอง ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาในการตัดสินใจ อาจคิดหรือพูดอะไรซ้ำ ๆ เริ่มมีปัญหาเรื่องการรับรู้ เช่น ผู้ป่วยอาจจะทำน้ำร้อยลวกมือตนเองแล้วมองบาดแผลเฉย ๆ โดยไม่เข้าใจว่าทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น นอกจากนี้ยังสูญเสียความสามารถทางคำพูด ไม่สามารถบ่งบอกในสิ่งที่ตนเองคิดหรือเข้าใจผ่านทางภาษาได้ การดูผู้ป่วยในระยะนี้ ควรดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดมากขึ้น โดยจัดกิจวัตรประจำวันให้กับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยปรับตัวได้ง่ายขึ้น บางครั้งควรทบทวนในสิ่งที่ผู้ป่วยพูด และเน้นสรุปในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการจะสื่อ เพื่อช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้ปฏิทินตัวใหญ่ ๆ การแขวนนาฬิกาให้ผู้ป่วยเห็นได้ง่าย นอกจากนี้ญาติและครอบครัวของผู้ป่วย ต้องช่วยกันสังเกต และประเมินในเรื่องความสามารถด้านต่าง ๆ และพฤติกรรมของผู้ป่วยโดยเทียบกับพฤติกรรมเดิม เพื่อให้ทราบความสามารถที่ลดลงในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้จัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้ป่วยในช่วงนั้น ๆ ได้3.  ระยะที่สาม ผู้ป่วยมีความบกพร่องในเรื่องความรู้ความสามารถมากขึ้น ไม่สามารถจดจำสถานที่ต่าง ๆ ได้ เริ่มบกพร่องในการดูแลสุขอนามัยของตนเอง และไม่สามารถทรงตัวได้ดีขณะยืนหรือเดิน ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการโรคจิตหวาดระแวง หรือมีหูแว่วได้ การดูแลผู้ป่วยในระยะนี้จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ ญาติจะต้องคอยดูแล และปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้ป่วยที่ถดถอยลง ในรายที่มีอาการโรคจิต หูแว่ว จำเป็นต้องพบแพทย์ และรับประทานยาเพื่อควบคุมพฤติกรรมที่เป็นปัญหา4.  ระยะที่สี่ ผู้ป่วยอาจออกจากบ้าน เร่ร่อนบ่อยขึ้น และอาจมีพฤติกรรมซ้ำ ๆ หรือพูดซ้ำ ๆ ตลอด นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการขับถ่ายที่ไม่เป็นที่เป็นทาง ผู้ป่วยอาจจะจำใครได้ได้เลย หรือจำเรื่องรายบางสิ่งได้เป็นนาที และลืมภายในไม่กี่นาที การดูแลผู้ป่วยระยะนี้ จำเป็นต้องดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตนเองได้เลย รวมถึงเรื่องกิจวัตรประจำวัน เช่น การรับประทาน ซึ่งผู้ป่วยอาจเคี้ยวหรือกลืนอาหารเองไม่ได้ การเตรียมอาหารที่บดหยาบ และไม่เหลวจนเกินไป จะช่วยให้ผู้ป่วยรับประทานได้ง่ายขึ้น พยายามป้อนน้ำทีละน้อย แต่บ่อยขึ้นเพื่อลดภาวะการขาดน้ำของผู้ป่วย นอกจากนี้การดูแลเรื่องการขับถ่ายเป็นสิ่งสำคัญต้องพยายามพาผู้ป่วยเข้าห้องน้ำให้ถี่ขึ้น เพื่อลดการถ่ายเรี่ยวราด รวมทั้งเรื่องการดูแลความสะอาดของร่างกาย เพื่อป้องกันการติดเชื้อทางผิวหนังโรคอัลไซเมอร์รักษาหรือป้องกันได้หรือไม่ในปัจจุบันยังไม่มียาที่ได้ผลจริงจังในการป้องกันการเสื่อมของสมอง หรือหยุดยั้งการตายของเซลล์สมองที่เป็นเร็ว และมากกว่าปกติในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ การรักษาผู้ป่วยมี 2 อย่าง คือ1.  การรักษาตามอาการ ได้แก่ ยาที่ควบคุมจิตใจ และพฤติกรรมที่ก้าวร้าว การให้ยานอนหลับสำหรับผู้ป่วยที่ไม่หลับเวลากลางคืน ยาแก้เกร็งสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการพาร์คินสันร่วมด้วย และให้อาหารทางสายยางในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารเองไม่ได้2.  การรักษาอาการสมองเสื่อม เนื่องจากผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มีการขาดสาร Acetylcholine ในสมอง ยาที่ได้ผลในการรักษาอาการเป็นยาที่เพิ่มสาร Acctylcholine ในสมอง ยาตัวแรกชื่อ Tacrine แต่ไม่นิยมใช้ เนื่องจากมีผลข้างเคียงมาก ที่พบบ่อยคือ ตับอักเสบ ยาเพิ่มสาร Acetylcholine ในสมองรุ่นที่สอง ได้แก่ Donepezil เป็นยาที่ผลข้างเคียงน้อย และช่วยลดอาการสมองเสื่อมได้อย่างมีนับสำคัญในผู้ป่วยที่มีอาการระยะที่ 1 และ 2 (อาการน้อยถึงปานกลาง)หากญาติผู้ใหญ่ของท่านเริ่มมีอาการโรคอัลไซเมอร์ ควรจะดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เพื่อเป็นกำลังใจที่ดีต่อผู้ป่วยที่มา : ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพhttp://www.bangkokhospital.comhttp://www.bangkokhealth.com

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive