Saturday, February 23, 2013

EASY Packing & Moving! ไอเดียการ เก็บของ และ แพ็กของ ก่อนย้ายบ้าน!

EASY Packing & Moving! ไอเดียการ เก็บของ และ แพ็กของ ก่อนย้ายบ้าน!
เมื่อเอ่ยถึงเรื่องการย้ายบ้าน... หลายคนคงคิดว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก พร้อมกับเกิดคำถามขึ้นมากมาย เราจะรับมือกับการย้ายบ้านอย่างไร? อย่าเพิ่งซีเรียสไป เราเชื่อว่าการย้ายบ้านสามารถทำให้เป็นเรื่องสนุกได้ ถ้าเข้าใจขั้นตอนและมีการวางแผนการย้ายบ้านเอาไว้ก่อนเสียแต่เนิ่นๆ วันนี้เรามีขั้นตอนต่างๆ ในการเตรียมของสำหรับย้ายบ้านมาฝาก ซึ่งเรานำเสนอแบบจัดเต็ม ขั้นตอนง่ายๆ ที่จะทำให้คุณสัมผัสได้ว่าเรื่องย้ายบ้านนั้นไม่ยากอย่างที่คิดเมื่อทราบชัดเจนแล้วว่าต้องย้ายบ้านแน่นอน สิ่งแรกที่ควรทำคือ ทำการสำรวจสิ่งของและอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ จากนั้นจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ และคัดเลือกสิ่งของที่ไม่ต้องการแล้ว อย่างเสื้อผ้าเก่า อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เสีย หรือเก่า, หนังสือ, อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปขาย หรือบริจาคกับมูลนิธิต่างๆ Packing ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการแพ็กของ   มาลองทำความรู้จักกับอุปกรณ์จำเป็นสำหรับการบรรจุของกันก่อน1. กล่องกระดาษ ถือเป็นอุปกรณ์หลักในการบรรจุสิ่งของสำหรับการขนย้าย กล่องขนาด 23 x 31 x 27 เซนติเมตร ราคาประมาณใบละ 10 บาท2. พลาสติกกันกระแทก ใช้สำหรับห่อหุ้มสิ่งของที่แตกง่าย ควรซื้อม้วนขนาดใหญ่ ที่มีหน้ากว้าง 1.30 เมตร ราคาประมาณม้วนละ 500 บาท   
3. กระดาษลูกฟูก ช่วยลดแรงกระแทกและป้องกันรอยขีดข่วนได้ดี นิยมใช้ความหนา 2 ชั้น หน้ากว้าง 112 เซนติเมตร ราคาประมาณกิโลกรัมละ 24 บาท4. กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือกระดาษห่อพัสดุสีน้ำตาลใช้ห่อของชิ้นเล็กๆ ก่อนบรรจุลงกล่อง ป้องกันการเสียดสีกัน หรือกันกระแทกภายในกล่องกระดาษห่อพัสดุสีน้ำตาล มีขนาด 89x119 เซนติเมตร 1 กล่อง มี 120 แผ่น/ห่อ ราคาประมาณ 390 บาท5. พลาสติกห่อใสใช้งานสะดวก เพราะพลาสติกสามารถติดกันได้โดยไม่ต้องติดเทปกาว เหมาะกับการห่อของที่ไม่ต้องระวังเรื่องการแตกหักแต่ไม่ต้องการให้เลอะ เช่น โซฟา ฟูก ฯลฯ นิยมใช้ขนาดความหนา 15 ไมครอน หน้ากว้าง 300 เซนติเมตร ยาว 300 เมตร ราคาม้วนละ 160 บาท6. ผ้าใช้ผ้าที่มีอยู่ในบ้าน เช่น ผ้าคลุมเตียง อาจใช้ห่อเครื่องนอน ช่วยปกป้องพื้นผิวสิ่งของจากการสัมผัส ส่วนผ้าผืนเล็กๆ เช่น ผ้าขนหนู ใช้เป็นวัสดุห่อหุ้มก่อนบรรจุลงกล่อง หรือใช้รองระหว่างชั้นในกล่องได้7. ลังไม้ เหมาะสำหรับบรรจุของชิ้นใหญ่ที่มีน้ำหนักมากและแตกหักได้ เช่น แจกันหรือรูปปั้นขนาดใหญ่ มีหลายขนาดให้เลือก ราคาประมาณ 150-250 บาท หาซื้อได้ตามริมถนนย่านคลองเตย, มีนบุรี หรือร้านกุหลาบ ย่านปทุมธานี โทร.08-1646-4994,  facebook / พาเลทลังไม้ ร้านกุหลาบ8. เชือก ใช้มัดของที่เป็นม้วน เช่น เสื่อ พรม และใช้มัดกล่องให้แน่น ควรเลือกใช้เชือกให้เหมาะกับการใช้งาน เช่น เชือกไนลอน เหมาะกับของชิ้นใหญ่ มีน้ำหนักมาก, ส่วนเชือกฟางหรือเชือกผ้าเหมาะกับของที่ไม่หนักมาก9. เทปกาว ใช้ผนึกฝากล่อง หรือยึดระหว่างวัสดุห่อหุ้ม เทปกาวที่นิยมใช้ มี 3 ชนิด คือ เทปกาวสีน้ำตาล ใช้ปิดกล่องสิ่งของเครื่องใช้ทั่วไป, เทปกาวสีแดง ใช้ติดเพื่อให้ทราบว่าเป็นสิ่งของที่แตกหัก และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ, เทปกาวขาว หรือเทปหนังไก่ ใช้ติดสำหรับเฟอร์นิเจอร์ไม้หรือของที่ต้องการแพ็กชั่วคราว มีข้อดีไม่ทิ้งร่องรอยไว้บนผิววัสดุ หาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป10. เม็ดโฟมและกระดาษชิ้นเล็ก สำหรับป้องกันการเสียดสีกัน หรือกันกระแทกภายในกล่องเม็ดโฟม มี 2 ขนาด คือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 มิลลิเมตร และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 มิลลิเมตร มีจำหน่ายเป็นถุง ถุงละ 2 กิโลกรัม ราคาประมาณถุงละ 400 บาท11. ลังพลาสติกหรือกล่องพลาสติกอเนกประสงค์แบบมีล้อ มีให้เลือกทั้งแบบใสและทึบ มีหลายขนาดให้เลือก ราคาประมาณ 200–500 บาทหมายเหตุ : อุปกรณ์แพ็กของดังกล่าวสามารถหาซื้อได้ที่ร้านจำหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้างทั่วไป, Homepro, ไทวัสดุ, ซีเมนต์ไทยโฮมมาร์ท และร้านจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องเขียนทั่วไป ฯลฯวิธีแพ็กของ1. เฟอร์นิเจอร์ สำหรับตู้ โต๊ะ, เตียง หากมีลิ้นชัก หรือแผ่นกระจก ควรถอดแยกชิ้นส่วนออกมา แล้วห่อแยกต่างหาก ตู้ที่เป็นบานเปิดหรือบานเลื่อน ควรใช้เชือกมัด หรือใช้เทปยึดบานประตูให้ติดกับตัวตู้ เพื่อความสะดวกในขณะขนย้าย สำหรับของชิ้นใหญ่ที่ไม่สามารถห่อได้ทั้งหมด อย่าลืมติดกระดาษ หรือพลาสติกกันกระแทก บริเวณที่เป็นเหลี่ยมหรือมุม2. เครื่องใช้ไฟฟ้า วิธีที่ดีที่สุดคือ การบรรจุเครื่องใช้ไฟฟ้าลงในกล่องที่มาจากโรงงาน ถ้าไม่มีกล่องที่บรรจุมาจากโรงงาน ควรหาวัสดุที่ป้องกันการกระแทกมาทดแทน เช่น ใช้ผ้าห่อ3. จาน ชาม ขวด แก้ว กระจก หรือสิ่งของที่แตกหักได้ ชนิดเดียวกันควรเก็บด้วยกัน เรียงจากขนาดใหญ่ไปหาขนาดเล็ก ถ้าวางซ้อนกันได้ จะช่วยประหยัดเนื้อที่ หากในกล่องมีพื้นที่ว่าง ควรใส่เม็ดโฟม หรือกระดาษชิ้นเล็กๆ ลงไปในกล่องด้วย เพื่อกันการกระแทกระหว่างการขนย้าย สำหรับกระจกควรใช้กระดาษลูกฟูก หรือพลาสติกกันกระแทก ห่อหลายๆ ชั้น แล้วทำเครื่องหมายระวังแตกไว้ในจุดที่เห็นได้ชัด4. เสื้อผ้า ควรเริ่มจากเก็บเสื้อผ้าที่ไม่ค่อยได้ใส่ก่อน แล้วค่อยเก็บชุดที่ใส่บ่อยทีหลัง กระเป๋าเดินทางถือเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับใส่เสื้อผ้าตอนขนย้าย ส่วนเสื้อผ้าที่ไม่สามารถพับได้ เช่น เสื้อสูท หรือชุดผ้าไหม ให้หาถุงสำหรับคลุมเสื้อแล้ววางแนวนอน หรือแขวนไปกับรถ ทั้งนี้ สามารถทำตู้เสื้อผ้าแบบเคลื่อนที่ได้เอง โดยใช้กล่องทรงสูงเจาะรูด้านข้างที่ขอบบน แล้วใช้ท่อพีวีซีทำเป็นราวแขวนไว้ด้านบน เวลาเคลื่อนย้ายเสื้อผ้าจะได้ไม่ยับ 5. หนังสือ คัดแยกหนังสือตามขนาด แล้วบรรจุหนังสือที่มีขนาดใกล้เคียงกันไว้ในกล่องเดียวกัน ไม่ควรเก็บหนังสือรวมกันมากๆ ในกล่องขนาดใหญ่ เพราะกล่องจะมีน้ำหนักมาก เคลื่อนย้ายไม่สะดวก6. รองเท้า
 ไม่ควรเก็บรองเท้าโดยการวางทับกัน เพราะจะทำให้รองเท้าเสียทรง หากมีกล่องใส่รองเท้าควรเก็บรองเท้าลงในกล่อง แล้วเขียนโน้ตติดข้างกล่องว่าเป็นรองเท้าชนิดไหน หรืออาจเก็บรวมกันในกล่องขนาดใหญ่ จัดรองเท้าที่มีขนาดใกล้เคียงกันวางนอนเข้าคู่เป็นชั้นๆ แล้วใช้กระดาษลูกฟูกกั้นระหว่างชั้นโดยใช้กระป๋องเครื่องดื่มวางที่มุมของกล่อง เพื่อช่วยรับน้ำหนัก ไม่ให้กดลงบนรองเท้าMoving By Yourself ขนย้ายของด้วยตัวเองแม้จะดูเหมือนยุ่งยากแต่ก็สบายใจ เนื่องจากเราสามารถควบคุมขั้นตอนทั้งหมดได้ด้วยตัวเอง ตั้งแต่เริ่มบรรจุของลงกล่องจนกระทั่งนำของออกมาจัดในบ้านใหม่ หากไม่มีรถขนาดใหญ่เพียงพอในการขนย้าย ควรติดต่อคนรู้จัก หรือเพื่อนๆ เพื่อช่วยในการขนย้าย หรือหากใช้บริการรถรับจ้าง ควรติดต่อและตกลงราคากันล่วงหน้า และจัดเตรียมปริมาณของในแต่ละเที่ยว ให้เหมาะสมกับขนาดของรถ ซึ่งมีทั้งรถกระบะไปจนถึงรถบรรทุก ส่วนราคานั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดรถและระยะทางเมื่อแพ็กเสร็จแล้ว ควรเก็บของโดยแยกตามแต่ละห้อง ช่วยให้การแยกของเมื่อขนย้ายเข้าไปยังบ้านใหม่ทำได้สะดวกมากขึ้น ควรติดสัญลักษณ์แถบสี หรือเขียนกำกับไว้ ติดไว้ที่ข้างกล่องและที่ห้องต่างๆ แยกตามห้อง วิธีนี้ทำให้ผู้ที่มาช่วยขนย้ายสามารถยกกล่องไปวางรวมกันในแต่ละห้องได้ง่าย โดยไม่ต้องเสียเวลามาถามว่ากล่องใบนี้เอาไว้ที่ไหน ช่วยประหยัดเวลาและลดความวุ่นวายได้มากทีเดียว   Checklist ก่อนการย้ายบ้านประมาณ 1 เดือน ควรวางแผนดังนี้อุปกรณ์ช่วยให้ทำการขนย้ายง่ายขึ้น 1. ลูกล้อสำหรับย้ายสิ่งของ ใช้เคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของได้สะดวก รับน้ำหนักได้ 90 กก. ขนาดกะทัดรัด จัดเก็บง่าย2. แผ่นสไลเดอร์ (Slider) วัสดุสำหรับเลื่อนเฟอร์นิเจอร์หนักโดยไม่ทำให้พื้นเป็นรอย                                                                 3. รถเข็น มีให้เลือกหลายขนาด ใช้งานง่ายและสะดวก 4. บันได รถเข็น 2 IN 1 ขนย้ายของรับน้ำหนักไม่เกิน 80 กก. มือจับหุ้มยางกันเลื่อน จับถนัดมือพับเก็บได้ ประหยัดเนื้อที่Moving by Moving Companies การใช้บริษัทขนย้ายมืออาชีพ   นับเป็นวิธีที่ง่ายสะดวกและรวดเร็ว แถมประหยัดเวลามากกว่าการขนย้ายด้วยตัวเองมากที่สุด แต่เหมาะสำหรับคนที่มีงบประมาณเพียงพอ เพียงแค่โทรศัพท์ไปติดต่อนัดเวลาให้บริษัทที่ให้บริการขนย้ายของมาสำรวจที่บ้าน เพื่อประเมินราคาและนัดวันขนย้าย เมื่อถึงกำหนดตามที่ตกลงไว้บริษัทขนย้ายจะดำเนินการเก็บของขนย้ายให้โดยเจ้าของบ้านไม่ต้องลงมือใดๆ หรือหากต้องการย้ายเฉพาะของชิ้นใหญ่ อย่าง แชนเดอร์เลียร์, เปียโน ฯลฯ ก็สามารถใช้บริการบริษัทรับขนย้ายได้เช่นกัน ส่วนค่าใช้จ่ายในการขนย้ายราคานั้น จะขึ้นอยู่กับจำนวนข้าวของเครื่องใช้ที่จะต้องแพ็กกิ้งป้องกัน วันและเวลาที่เริ่มขนย้าย จำนวนเที่ยวรถที่ใช้ ระยะทางขนย้ายจากต้นทางไปยังปลายทาง  ค่าใช้จ่ายโดยประมาณสำหรับการใช้บริการ                                                                                        - ค่าสำรวจหน้างานใน กทม.ชั้นใน 500 บาท หรือ กทม.รอบนอก ค่าใช้จ่ายประมาณ  1,000 บาท                                                                       - บริการแพ็กกิ้งและขนย้ายบ้านด้วยรถปิกอัพหลังคาสูง ค่าใช้จ่ายประมาณ 5,500 บาท                                                                     - บริการแพ็กกิ้งและขนย้ายบ้านด้วยรถหกล้อแบบคอก มีผ้าใบปิด ค่าใช้จ่ายประมาณ 15,000 บาท                                                            -  บริการแพ็กกิ้งและขนย้ายบ้านด้วยรถหกล้อแบบตู้ทึบ ค่าใช้จ่ายประมาณ 17,000 บาท จากนั้นทางบริษัทจะจัดส่งเอกสารมาให้อ่าน เป็นพวกคำแนะนำสิ่งที่บริษัทบริการทำให้และแบบฟอร์มประเมินของสิ่งที่เราต้องทำ คือ แจ้งจำนวนและขนาดของที่เป็นชิ้นใหญ่ ถ้ามีอะไรที่เป็นกระจก หรือแตกง่ายก็ให้ระบุ ทางบริษัทจะจัดอุปกรณ์สำหรับ Safety ให้ ส่วนของชิ้นเล็กชิ้นน้อยรวมกัน ก็ให้ระบุเป็นจำนวนกล่องที่ต้องการและจากนั้นนัดวันขนย้าย เมื่อถึงวันนัด พอพนักงานมาถึงจะทำการเริ่มแพ็กของ ถอดเฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ สำหรับเสื้อผ้าให้ใส่ไว้ในตู้เหมือนเดิม เพราะทางบริษัทจะมีกล่องสำหรับใส่เสื้อผ้าแขวนและเสื้อผ้าพับเสื้อผ้าแขวนจะถูกใส่ในกล่องกระดาษเป็นตู้เสื้อผ้าเคลื่อนที่ ส่วนเสื้อผ้าพับไว้แล้วทางบริษัทจะมีกล่องพลาสติกสำหรับใส่เสื้อผ้าโดยเฉพาะ จากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการขนย้าย
 Room’s Tipอย่าลืมตรวจสอบสภาพอากาศล่วงหน้าก่อนขนย้าย หากช่วงนั้นเป็นฤดูฝน ควรโทรนัดหมายล่วงหน้า 7-14 วัน จะได้จองวันที่เราต้องการย้าย เพราะวันเสาร์และอาทิตย์คิวค่อนข้างแน่น ปัจจุบันมีบริการประเมินราคาออนไลน์ ส่วนใหญ่จะไม่คิดค่าบริการ มีบริการประเมินราคาค่าใช้จ่ายการขนย้าย ขนย้ายแบบ on-line หรือลองกรอก Survey Guide เพื่อคำนวณราคาคร่าวๆ บางบริษัทมีบริการให้ยืมกล่องใส่ของฟรี  ไม่จำกัดจำนวนพร้อมเทปปิดกล่องฟรี  (กล่องขนาดประมาณ 1.5x1.5 ฟุต) **Did you know**1. ควรทำรายการสิ่งของที่บรรจุในแต่ละกล่องเอาไว้เพื่อความสะดวกในการค้นหาเมื่อถึงบ้านใหม่2. อย่าลืมแยกเก็บสิ่งของที่มีค่า และควรนำติดตัวไปเอง3. การบรรจุลงกล่อง ควรใส่ให้เต็มพอดี ไม่หลวมหรือแน่นไป4. สิ่งของที่แตกหักง่าย หากบรรจุรวมกับของหนักควรมีของที่อ่อนนุ่มหรือวัสดุกันกระแทกป้องกันไว้5. ของที่ต้องใช้เป็นชุด หรือมีอุปกรณ์ประกอบ เช่น เครื่องเสียง  ควรบรรจุไว้ด้วยกันจะได้ไม่ลำบากในการค้นหาเมื่อถึงบ้านใหม่6. แบ่งเสื้อผ้าที่ต้องใช้งานก่อนประมาณ 7-10 วัน แล้วแยกใส่กระเป๋าไว้ต่างหาก เพื่อความสะดวกหลังจากย้ายข้าวของเสร็จแล้ว7. ระหว่างการขนย้ายควรวางเครื่องใช้ไฟฟ้าในทิศทางปกติของการใช้งาน สำหรับตู้เย็นควรถอดปลั๊กทิ้งไว้ก่อนการขนย้าย 3-4  ชั่วโมง เพื่อให้น้ำยาไหลกลับสู่ด้านล่างไม่ตกค้างอยู่ตามท่อ ซึ่งอาจทำให้ระบบทำความเย็นของตู้เย็นเสียหายได้ 
หลังจากเก็บของลงในกล่องเรียบร้อยแล้ว ควรเขียนรายการ หรือแปะสติกเกอร์กำกับไว้ที่ข้างกล่อง ว่าภายในบรรจุอะไรบ้าง หากของชิ้นไหนเป็นของที่สามารถแตกหักเสียหายได้ ควรติดสัญลักษณ์ไว้เพื่อเตือนให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ และควรเก็บของแยกตามห้อง  ข้อมูลจากนิตยสาร room เรื่อง Sara ภาพ นันทิยา บุษบงค์ สไตล์ ประไพวดี  โภคสวัสดิ์ ภาพประกอบ คณาธิป จันทร์เอี่ยม

No comments:

Post a Comment

Blog Archive