Thursday, December 20, 2012

ขัวศิลปะ-สะพานศิลปิน รวมพลังดินปั้น พู่กัน สี พลิกเมืองเชียงราย

ขัวศิลปะ-สะพานศิลปิน รวมพลังดินปั้น พู่กัน สี พลิกเมืองเชียงราย
ข้ามน้ำ ผ่านภูเขาสู่เหนือสุดของประเทศไทยที่ จ.เชียงราย เมืองที่หลายคนนิยมมาเที่ยวกันในช่วงหน้าหนาว เพราะได้เห็นดอกไม้หลากสีสันผลิบานตามสถานที่ท่องเที่ยว ได้ไปนมัสการตามวัดต่างๆ ท่ามกลางอากาศเย็นสบาย แต่จริงๆ แล้ว เชียงรายมีอะไรมากกว่าที่คุ้นเคย เพราะที่นี่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยงานศิลปะ ใครบางคนอาจมองไม่เห็น แต่ต่อไปนี้กำลังจะเกิดขึ้นอีกไม่ช้า...มีศิลปินหลายชีวิตที่ขอปักหลักอยู่เชียงรายอย่างถาวร ทั้งมีบ้านเกิดที่นี่อยู่แล้วและมาจากที่อื่น เราอาจจะหาคำตอบที่ตายตัวไม่ได้ว่าเพราะอะไรศิลปินที่สร้างงานศิลปะถึงเลือกเชียงรายเป็นบ้าน แต่เหตุผลหนึ่งที่คล้ายกันก็คือ เชียงรายนอกจากจะเป็นเมืองที่สงบแล้ว ก็ยังมีเรื่องราวของศิลปะวัฒนธรรม ให้พวกเขาได้ค้นหาแรงบันดาลใจในการสร้างงานของตัวเอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความสำเร็จของคนทำงานด้านนี้จะราบรื่นไปอย่างง่ายดาย เพราะตราบใดที่คนส่วนใหญ่มองว่าศิลปะเข้าถึงยาก การสนับสนุนผลงานก็เกิดขึ้นยากตามไปด้วย บรรยากาศภายในงานแถลงข่าวผลงานประติมากรรมไม้ไผ่ของเหล่าศิลปินเชียงราย ซึ่งนำมาจัดแสดงภายในงานแถลงข่าวเปิดตัวขัวศิลปะขัวศิลปะ Art Bridge Chiangrai (ABCR) เป็นไอเดียที่กลุ่มศิลปินเชียงรายพยายามสร้างขึ้นเพื่อให้สังคมเข้าถึงศิลปะง่ายขึ้น เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างศิลปินและคนทั่วไป โดยมีขัวศิลปะเป็นตัวเชื่อม ซึ่ง อ.สมลักษณ์ ปันติบุญ ศิลปินช่างปั้นระดับนานาชาติ เจ้าของดอยดินแดง ซึ่งรับหน้าที่เป็นประธานขัวศิลปะ ได้เล่าให้ฟังว่าเริ่มต้นมันก็มาจากความคิดที่อยากทำมูลนิธิขึ้นมาและมีจังหวะที่เหมาะสม แต่คราวนี้ก็ดีที่เราได้มาคุยกัน ทางเฉลิมชัยก็มาด้วย จู่ๆ ก็เอาเงินมาวางให้ 5 แสนบาท ว่าจะทำอะไรก็ทำ ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ถ้าเรามีใจซะอย่างทำให้ดี ทุกอย่างมันก็จะดี อย่างเรื่องที่ศิลปินจะทำบ้านให้เยี่ยมชม ผมว่าดีมาก เขาจะได้มีที่ขายรูปมีที่แสดงงาน และเป็นศูนย์รวมไว้คุยปรึกษากันด้วย แต่การขายงานมันจะเกิดการผลักดันเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เชิญคนอื่นมาแสดงงาน มันจะเกิดความหลากหลายมากขึ้น   ผมมองว่า ถ้าทำแกลเลอรี่อย่างเดียวมันยาก เพราะในไทยไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่  ขัวศิลปะเองเลยทำเป็นแกลเลอรี่ มีที่กินข้าว ที่ซื้อของ และเรียนศิลปะน่าจะดีกว่า ก็ต้องดูในอนาคตข้างหน้า เราก็มีความหวังว่ามันน่าจะดี เพราะเราตั้งใจสามัคคีกันทำขึ้นมา ที่จริงมันก็ยากเหมือนกันที่จะทำขัวศิลปะ เพราะเราทำงานกับคนหมู่มาก ศิลปินแต่ละคนก็จะมีความช่างคิดที่แตกต่างกันมีความปัจเจกก็เป็นปกติของเขา แต่ถ้าประเด็นมันชัดเจนก็คงต้องทำ ไม่ใช่ว่ายากหรือง่าย ถ้าเราทำสำเร็จมันก็ดีกับทุกคน และเป็นตัวอย่างให้กับคนอื่นได้ อย่างถ้าเราจะสร้างบ้านตัวเองเราก็ต้องทำเอง จะไปให้ใครทำได้ยังไง ด้าน อ.พลวัฒน์ ประพัฒน์ทอง อาจารย์ประจำสำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในการผลักดันขัวศิลปะให้เกิดขึ้น เล่าว่าศิลปินอยู่ได้ด้วยผู้อุปถัมภ์และการแสดงผลงาน แต่ที่ผ่านมามันหายากมากขึ้นเรื่อยๆ ศิลปินรุ่นใหม่อาจจะต้องมองถึงวิธีการนำเสนอให้เหมาะกับยุคสมัยด้วย อาจต้องมีการปรับตัว จริงๆ รัฐต้องอุปถัมภ์ด้วย แต่ในไทยไม่ทำเลย ซึ่งมันก็ยาก อย่างศิลปินที่มีชื่อเสียงที่ผ่านมาก็มีแต่ชาวต่างชาติทั้งนั้น ถึงมีชื่อเสียงจนทุกวันนี้ ศิลปินต้องมีแนวทางเป็นของตัวเองที่โดดเด่นออกมาถึงจะมีชื่อเสียง ซึ่งยากมาก และต้องใช้เวลานานพอสมควร การทำงานของระบบราชการมันค่อยข้างช้า พวกศิลปินเขาเลยไม่รอกันแล้ว ซึ่งที่เราทำก็จะเป็นกึ่งการท่องเที่ยวด้วย เราจะมีการเปิดให้เที่ยวบ้านศิลปิน ซึ่งจริงๆ แล้ว มันก็เป็นกิจกรรมเพื่อสังคมของจังหวัดเชียงราย อาคารขัวศิลปะเห็นความตั้งใจของเหล่าศิลปินที่อยากให้ขัวศิลปะแห่งนี้ได้เป็นสะพานเชื่อมระหว่างสังคม ก็คงต้องเอาใจช่วยให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งอีกไม่นานในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ก็จะเปิดอย่างเป็นทางการแล้ว ใครที่มีโอกาสแวะไปเที่ยว จ.เชียงราย ก็คงได้เห็นขัวศิลปะตัวจริง ที่มีทั้งที่กินข้าว ที่เสพศิลป์ และที่เรียนศิลปะ นอกจากนี้ ใครที่สนใจอยากไปเห็นวิถีชีวิของพวกเขา ว่าทำงานกันอย่างไร หาแรงบันดาลใจจากไหนในการสร้างผลงานก็สามารถไปดูได้ด้วยใครว่าศิลปินเข้าถึงยาก คงต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ได้แล้ว..Twitter : sriploi_social 

No comments:

Post a Comment

Blog Archive