Friday, December 7, 2012

ดูแลดวงตา ในแต่ละช่วงวัย

ดูแลดวงตา ในแต่ละช่วงวัย
ทุกความเสื่อมของร่างกายมาพร้อมกับวัยที่มากขึ้น บางคนความเสื่อมมาถึงช้าเร็วแตกต่างกัน เหตุผลสำคัญมาจากการเอาใจใส่ดูแลร่างกายมากน้อยแค่ไหน เมื่อวัยหนุ่มสาว “สายตา” ก็เช่นเดียวกัน สามารถดูแลและยืดอายุการใช้งานได้ยาวนาน หากได้รับการดูแลตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อให้ดวงตามีสุขภาพแข็งแรงและใช้งานได้อย่างปกตินานที่สุด ซึ่งการดูแลรักษาสุขภาพดวงตาเริ่มตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงวัยสูงอายุ ดังนี้วัยเด็ก •    สำหรับเด็กแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อย และต้องอยู่ตู้อบให้ออกซิเจน จำเป็นต้องได้รับการตรวจตาจากจักษุแพทย์ตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อประเมินโรคเส้นเลือดเติบโตผิดปกติที่จอประสาทตา (retinopathy of prematurity, ROP) ซึ่งหากเกิดขึ้น ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ด้วยเลเซอร์หรือการผ่าตัด ไม่เช่นนั้นอาจมีภาวะแทรกซ้อนจนถึงตาบอดได้ •    เด็กอายุ 2-3 เดือนขึ้นไป ถ้าหากยังไม่มองหน้าแม่ หรือไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คล้ายมองไม่เห็น ต้องได้รับการตรวจโดยจักษุแพทย์ •    เด็กในวัยเข้าเรียน ที่ดูหนังสือหรือโทรทัศน์ใกล้มากผิดปกติ เอียงคอมอง หยีตามอง กะพริบตาบ่อย อาจมีปัญหาทางสายตาสั้น ยาว เอียง หรือสาเหตุอื่น สมควรได้รับการตรวจโดยจักษุแพทย์วัยทำงาน ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ •    ควรพักสายตาโดยมองไกลประมาณ 5-10 นาที ต่อการทำงานคอมพิวเตอร์ 1 ชั่วโมง เพื่อลดการเพ่งของสายตา จะช่วยคลายการปวดเมื่อยล้าตาและอาการตาแห้งได้ •    ด้านหลังจอคอมพิวเตอร์ไม่ควรมีแสงสว่างมาก เพราะจะรบกวนการมองจอคอมพิวเตอร์ เช่น ไม่ควรวางจอคอมพิวเตอร์โดยหันหลังให้กับหน้าต่าง •    ศีรษะของเราควรอยู่สูงกว่าจอคอมพิวเตอร์เล็กน้อย จะได้ไม่ต้องเงยหน้ามองจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้เมื่อยล้าได้ง่าย หรืออย่างน้อยไม่ควรอยู่ต่ำกว่าจอแสดงผล •    ถ้ามีอาการตาแห้ง เช่น แสบเคืองตา ให้กะพริบตาบ่อยขึ้นเพื่อกวาดน้ำตามาเคลือบผิวตา หรือพักการใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะๆ ถ้ายังมีอาการมาก การใช้น้ำตาเทียมหยอดตาจะช่วยบรรเทาอาการได้ •    ผู้ที่มีปัญหาทางสายตา อาจทำให้ปวดเมื่อยล้าตาง่าย เช่น คนสายตาเอียง หรือผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ซึ่งจะมีปัญหาเวลามองใกล้ การใส่แว่นตาที่เหมาะสมจะช่วยแก้ปัญหาได้วัยผู้ใหญ่อายุ 40 ปีขึ้นไป •    ควรตรวจวัดความดันลูกตาอย่างน้อยปีละครั้งเพื่อตรวจหาต้อหิน โดยเฉพาะผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นต้อหิน เพราะบางคนอาจเป็นต้อหินได้โดยไม่รู้ตัว ซึ่งถ้าปล่อยไว้โดยไม่ได้รักษาเป็นเวลานานจะทำให้สายตาเสื่อมลงหรือบอดได้ และภาวะตาบอดจากต้อหินนั้นไม่สามารถรักษาให้สายตากลับมามองเห็นได้ •    ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน ควรตรวจจอประสาทตาเพื่อดูว่ามีเบาหวานขึ้นตาหรือไม่ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่สำคัญ คือ ควรรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และไขมันในเลือดให้อยู่ในระดับปกติอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานขึ้นตาได้ดี •    ต้อกระจก พบได้ตั้งแต่อายุ 50 ถึง 60 ปี ขึ้นไป รักษาได้ด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียม ทำให้การมองเห็นกลับมาใกล้เคียงหรือเหมือนปกติได้ •    โรคจุดรับภาพเสื่อม ปัจจุบันมีการรักษาใหม่ๆ เช่น การฉีดยาชะลอการเกิดใหม่ของเส้นเลือด การตรวจพบโดยจักษุแพทย์ตั้งแต่ระยะแรกของโรค จะช่วยรักษาการมองเห็นไว้ได้ดีกว่าเดิมมากข้อควรปฏิบัติเพื่อดูแลสุขภาพตาให้ดี •    หมั่นตรวจตาเป็นประจำโดยจักษุแพทย์ ในเด็กควรพบจักษุแพทย์อย่างน้อยในช่วง 3-5 ขวบ ก่อนเข้าโรงเรียน และรับการตรวจเป็นประจำเมื่อมีปัญหาเรื่องสายตา ผู้สูงอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจตาปีละ 1 ครั้ง ส่วนในผู้มีความเสี่ยงเฉพาะโรคตา เช่น โรคเบาหวาน หรือมีประวัติโรคตาในครอบครัว เช่น ต้อหิน จำเป็นต้องได้รับการตรวจตาบ่อยขึ้นตามแพทย์นัด •    สวมแว่นกันแดดเป็นประจำเมื่อออกแดด หรือต้องใช้สายตาในที่มีแสงมาก เพื่อป้องกันโรคต้อเนื้อ ต้อกระจก จอรับภาพเสื่อม •    สวมแว่นป้องกันการกระแทกที่ได้มาตรฐาน สำหรับผู้ทำงานที่มีความเสี่ยง เช่น ช่างเชื่อมโลหะ ช่างไม้ ผู้ที่เล่นกีฬา •    รับประทานอาหารที่มีคุณค่าช่วยบำรุงสายตาเป็นประจำ ได้แก่ กลุ่มที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) จำพวกอาหารเสริมและวิตามินต่างๆ เช่น วิตามิน C, E, เบตาแคโรทีน, สังกะสี, ไบโอฟลาโวนอยด์, สาร Lutein และ Zeaxanthin ที่พบมากในผักใบเขียว จะช่วยป้องกันโรคจอตาเสื่อม, ต้อกระจกได้ กรดไขมันชนิด Omega-3 ช่วยรักษาอาการตาแห้ง พบมากในปลาทะเลบางชนิด เช่น เแซลมอน, แมคเคอเรล เป็นต้นดูแลถนอมสายตาตั้งแต่วันนี้ เพื่อคุณภาพการมองเห็นที่ดีไปนานๆEye Center โรงพยาบาลเวชธานี  

No comments:

Post a Comment

Blog Archive