Friday, October 26, 2012

ชะลอ'ข้อเข่าเสื่อม' ปัญหาโลกแตก...หนีอย่างไรก็ไม่พ้น

ชะลอ'ข้อเข่าเสื่อม' ปัญหาโลกแตก...หนีอย่างไรก็ไม่พ้น
Pic_301003 ข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่พบในผู้สูงอายุจำนวนมาก ปัจจุบันอัตราคนเป็นข้อเข่าเสื่อมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากประชากรมีอายุยืนมากขึ้น ประกอบกับพฤติกรรมและท่าทางของคนไทย ที่ไม่ว่าจะเป็นการนั่งกับพื้น นั่งในท่าทางงอเข่าต่างๆ ส่งผลให้มีแนวโน้มต่อการเป็นข้อเข่าเสื่อมได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่ห้ามไม่ได้ เป็นแล้วไม่หายขาด แต่สามารถชะลออาการเสื่อมได้ ดังนั้นเราจึงควรเรียนรู้ข้อปฏิบัติ ท่าทาง พฤติกรรมต่างๆ ที่ถูกต้อง ที่จะช่วยชะลอการเป็นข้อเข่าเสื่อม เพื่อให้ชีวิตที่ยืนยาวเป็นไปอย่างมีคุณภาพที่สุด

ทีมแพทย์ รพ.นครธน ได้ให้ข้อมูลว่า ข้อเข่าเสื่อมจะเริ่มพบในผู้มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป โดยร้อยละ 40 จะพบในผู้ที่มีอายุ 60 ปี ซึ่งโอกาสในการเป็นข้อเข่าเสื่อม ประมาณ 2-3 เท่า จะเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และเป็นผลจากกรรมพันธุ์ประมาณ 30% โดยผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป พบได้ร้อยละ 50 ว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่มีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป นอกจากนี้พฤติกรรมแบบชาวเอเชีย อาทิ การนั่งกับพื้น นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ นั่งคุกเข่า การขึ้นลงบันไดบ่อยๆ หรืออยู่ในท่าทางที่งอเข่า ก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญในการเกิดข้อเข่าเสื่อม
อาการ ที่พบเมื่อเป็นข้อเข่าเสื่อมในระยะแรกคือ จะมีอาการปวดบริเวณเข่าเวลาเคลื่อนไหว อาทิ เมื่อเดินขึ้นลงบันได นั่งพับเพียบหรืองอเข่า ไปจนถึงขั้นภาวะรุนแรงคือ จะมีอาการปวดที่รุนแรงมากขึ้น บางครั้งปวดเวลากลางคืน อาจคลำส่วนกระดูกงอกได้บริเวณด้านข้างข้อ ถ้ามีอาการเสื่อมมานานจะพบว่า เหยียดหรืองอเข่าได้ไม่สุด กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่ง หลวม หรือบิดเบี้ยวผิดรูป ส่งผลให้เดินและใช้ชีวิตประจำวันลำบาก และมีอาการปวดเวลาเดินหรือขยับ

ข้อควรปฏิบัติเมื่อพบว่ามีอาการข้อ เข่าเสื่อม ในเบื้องต้นจะแนะนำให้ผู้ป่วยดูแลตัวเองก่อน ปรับพฤติกรรมการใช้ข้อ ท่าทาง การเดิน การบริหารกล้ามเนื้อและออกกำลังเพื่อสุขภาพ การฝึกเหยียดขาค้างไว้ เพื่อช่วยชะลออาการเสื่อม การว่ายน้ำ เดินในน้ำ รวมไปถึงการควบคุมน้ำหนักตัว โดยถ้าน้ำหนักตัวลดลงไป 5 กก. ก็จะสามารถช่วยลดอาการปวดไปได้ถึง 50% แต่หากผู้ป่วยมีอาการจนถึงขั้นที่ปวดอย่างรุนแรง จึงจะเข้ารับการใช้ยา ไปจนถึงเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
เมื่อ ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดข้อเข่าเรียบร้อยแล้ว หลังจากการผ่าตัดประมาณ 3-5 วัน ก็จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวหลายโรค อาทิ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไต ก่อนเข้ารับการผ่าตัดจะต้องผ่านการตรวจเช็กร่างกายอย่างละเอียด และเข้ารับการรักษาจากทีมแพทย์เฉพาะสาขาจนกระทั่งมีอาการคงที่ก่อน จึงจะสามารถเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าได้ โดยในปัจจุบันนี้ วิทยาการทางด้านการแพทย์ด้านผ่าตัดและระงับความเจ็บปวดขณะผ่าตัดมีความก้าว หน้าเป็นอย่างมาก จึงทำให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยมากขึ้นกว่าในอดีตมาก

No comments:

Post a Comment